หากคุณเพิ่งเริ่มฝึกโยคะ อุปกรณ์แรกที่คุณมองหาคงเป็น “เสื่อโยคะ” กับคำถามที่ตามมาว่าจะเลือกอย่างไรดี และหากฝึกมาซักระยะ หรือแม้แต่เป็นผู้ฝึกที่ช่ำชอง ก็เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะสนใจอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับโยคะสไตล์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การฝึกโยคะของคุณก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกหลายอย่างด้วยกัน ลองมาดูกันว่าวิธีเลือกเสื่อโยคะสำหรับผู้เริ่มต้น และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับผู้ฝึกมือเก๋ามีอะไรกันบ้าง
การเลือกซื้อเสื่อโยคะต้องดูอะไรบ้าง
วัสดุ:
วัสดุที่ใช้ทำเสื่อโยคะมีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกเสื่อโยคะ ได้แก่ สไตล์การฝึก สภาพอากาศ ความชอบส่วนตัว และงบประมาณ
- PVC (โพลีไวนิลคลอไรด์): เป็นวัสดุที่พบบ่อยที่สุด ราคาไม่แพง กันลื่น ทนทาน แต่ไม่ระบายอากาศ ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- TPE (เทอร์โมพลาสติกอีลาสโตเมอร์): เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบายอากาศได้ดี ยืดหยุ่น ราคาปานกลาง แต่ไม่กันลื่น และอาจมีกลิ่นฉุนในตอนแรก
- NBR (ยางไนไตรล์บิวทาไดอีน): กันลื่น ทนทาน ราคาไม่แพง แต่ไม่ระบายอากาศ
- PU (โพลียูรีเทน): สัมผัสนุ่มสบาย กันลื่น ระบายอากาศได้ดี ราคาค่อนข้างแพง
- Cork: เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กันลื่น ระบายอากาศได้ดี ราคาค่อนข้างแพง แต่ไม่ทนทานเท่า PVC และมีสัมผัสแข็ง
- Rubber (ยาง): สัมผัสนุ่มสบาย กันลื่น ทนทาน ราคาค่อนข้างแพง
ความหนา:
สำหรับผู้เริ่มต้นอาจต้องการเสื่อโยคะที่หนาสักหน่อย เสื่อที่หน้าประมาณ 6 มม. จะช่วยลดแรงกระแทกให้กับข้อต่อได้มากขึ้น ส่วนผู้ที่ฝึกมาซักระยะแล้ว บางคนอาจต้องการเสื่อที่บางกว่าคือประมาณ 4 มม. เพื่อการทรงตัวและความมั่นคงที่ดีขึ้น
ขนาด:
เสื่อโยคะมาตรฐานมีความยาวประมาณ 180 ซม. และกว้าง 60 ซม. ผู้ฝึกที่ตัวสูงอาจจะต้องการเสื่อที่มีขนาดใหญ่กว่านี้
การยึดเกาะ:
ความหนึบหรือการยึดเกาะเพื่อป้องกันการลื่นเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งของเสื่อโยคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการฝึกที่มีเหงื่อออกมาก เช่น Vinyasa Yoga ควรเลือกเสื่อที่มีคุณสมบัตินี้
คุณสมบัติพิเศษอื่น:
เสื่อโยคะบางรุ่นมาพร้อมกับเส้นจัดตำแหน่งเพื่อช่วยให้เราจัดตำแหน่งร่างกายได้อย่างถูกต้อง หรือมีสายหิ้วเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย สามารถพิจารณาตามความต้องการได้เลย
Beyond the Mat: อุปกรณ์เสริมที่(อาจ)ต้องมี
แม้ว่าเสื่อโยคะจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็มีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่สามารถเสริมการฝึกและช่วยให้เราเข้าท่าที่ลึกขึ้นได้ เช่น
Yoga Blocks:
บล็อกมีหลายขนาดและวัสดุที่หลากหลาย ช่วยรองรับและเพิ่มความมั่นคงในท่าที่ต้องเอื้อมหรือพับตัว
Yoga Strap:
สายรัดช่วยให้เราสามารถยืดเหยียดได้ยาวและลึกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายหรือไหล่ที่ตึง
Yoga Bolster:
หมอนข้างเป็นเบาะทรงกระบอกที่ช่วย support ความสบายในท่าโยคะเพื่อการฟื้นฟูต่างๆ
Yoga Towel:
ผ้าขนหนูไมโครไฟเบอร์ที่ปูทับบนเสื่อจะดูดซับเหงื่อและช่วยให้ยึดเกาะได้มั่นคงขึ้น
Yoga Pad:
แผ่นรองสำหรับรองรับข้อต่ออย่างท่าที่ต้องวางเข่า เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหรือผู้ฝึกใหม่ หรืออาจมีลักษณะเหมือนเสื่อแผ่นเล็กที่เอาไว้รองรับร่างกายบางส่วน เช่น รับรองเฉพาะมือหรือข้อศอกในการทำท่า Inversion
เคล็ดลับการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเรา
เลือกให้เหมาะกับสไตล์โยคะที่ฝึก:
สไตล์โยคะที่แตกต่างกันมีความต้องการที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Yin Yoga เมื่อใช้หมอนข้างและบล็อกจะมีประโยชน์ในการฝึก ในขณะที่การฝึก Ashtanga ต้องการใช้เสื่อที่มีความหนึบหรือผ้าขนหนูปูทับเพื่อซับเหงื่อ
ฟังร่างกาย:
ให้เลือกอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้เราจัดตำแหน่งได้อย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ อย่ากลัวหรืออายที่จะใช้เมื่ออยู่ในคลาส
เริ่มต้นที่ละนิด:
ในการฝึกโยคะ เราไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมทั้งหมดในคราวเดียว เพียงเริ่มต้นด้วยเสื่อธรรมดาๆ และค่อยๆ พิจารณาความต้องการและขีดกำจัดของร่างกายแล้วจึงหาอุปกรณ์มาใช้เมื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกของเราก็ได้
โยคะคือการเดินทางไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ไม่ต้องอายที่จะใช้เมื่ออยู่ในคลาส เพราะการมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้การฝึกมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น และทำให้เราพัฒนามากขึ้นได้
ขอให้มีความสุขกับการช้อปปิ้ง Namaste!