Search

โยคะ ในด้านการสร้างความแข็งแรง คือ Strength Training (Body Weight)

ยคะ….ไม่ใช่แค่การยืดเหยียด” (ตอนที่ 4)

โยคะ ในด้านการสร้างความแข็งแรง คือ Strength Training (Body Weight)

นอกเหนือไปจากการเสริมสร้างความยิดหยุ่นของร่างกาย ที่จริงแล้วโยคะเป็นการฝึกความแข็งแกร่ง (strength training) ของกล้ามเนื้อและกระดูกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง โยคะเป็นการออกกำลังแบบใช้น้ำหนักร่างกายของเราเอง (bodyweight exercise) นั่นคือเรากำลังแบกน้ำหนักของร่างกายเราเองขณะฝึก เมื่อฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อและกระดูกจะเพิ่มขึ้น

แม้การฝึกโยคะจะไม่ได้สร้างกล้ามเนื้อได้มากเท่ากับการฝึกยกน้ำหนัก แต่การฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อด้วยโยคะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีอาการบาดเจ็บและต้องการหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักหรือการยกน้ำหนัก รวมถึงคนที่กลัวว่าฝึกยกน้ำหนักแล้วจะทำให้กล้ามใหญ่ไม่สวย (ที่จริงแล้วการฝึกยกน้ำหนักไม่ได้ทำให้ตัวใหญ่อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน การจะสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่เพื่อให้ได้รูปร่างแบบนักเพาะกายนั้นมีปัจจัยอื่นประกอบอีกมาก เช่น อาหาร ฮอร์โมน นอกจากนี้การฝึกยกน้ำหนักยังเป็นออกกำลังแบบคาร์ดิโอก็ได้เช่นกันขึ้นกับลักษณะและรูปแบบการฝึก)

เราสามารถฝึกโยคะเพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้วยการอยู่ค้างในอาสนะให้นานขึ้นซึ่งจะเป็นการฝึก

  • ความทนทาน (endurance)
  • ความอึด (stamina)

เพิ่มจำนวนครั้งของอาสนะนั้นโดยอาจเลือกเน้นกล้ามเนื้อเฉพาะบางกลุ่มแล้วทำท่าหรืออาสนะเพื่อฝึกกล้ามเนื้อนั้นซ้ำหลายครั้ง ลองใส่น้ำหนักเพิ่มขณะฝึกอาสนะ อาจจะด้วยการถือน้ำหนักขณะทำท่า warrior I, II วางน้ำหนักบนลำตัวขณะฝึกท่าแพลงค์ ฯลฯ ปรับท่าจากที่เป็นการค้างท่าอยู่กับที่ให้มีการเคลื่อนไหวเพิ่ม

อาสนะที่ดูพื้นฐานบางท่าสามารถใช้ฝึกสร้างความแข็งแกร่งได้อย่างดี เช่น

  • ท่านักรบต่างๆ (warrior poses)
  • จันทร์เสี้ยว (half moon poses)
  • นาวาสนะ (boat pose)
  • อุตกฏาสนะ (chair pose)
  • ภุชงคาสานะ (ท่างู Cobra pose)

Blog03 2
Blog03 5
Blog03 3
Blog03 4
Blog03 6

ลองฝึกท่าพื้นฐานเหล่านี้เพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงก่อนแล้วจะพบว่าการฝึกท่ายากจำพวกท่า arm balance, inversion ได้ง่ายขึ้นมาก นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายของเราแข็งแรงพร้อมแล้วที่จะฝึกท่าพวกนี้นั่นเอง สิ่งสำคัญที่จะทำให้ฝึกโยคะเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างได้ผลคือออกแรงใช้กล้ามเนื้อแบบ Isometric contraction ขณะค้างอยู่ในอาสนะ ไม่ใช่การฝากน้ำหนักไว้ที่ข้อต่อ แบบนี้จะทำให้ได้ประโยชน์จากการฝึกโยคะนอกเหนือไปจากเพียงการยืดเหยียดหรือความยืดหยุ่นเท่านั้น

ที่มา: https://www.issaonline.com, หนังสือ Yoga Anatomy