YogaSutra TEACHER TRAINING : YTT 200Hrs

หากคุณกำลังมองหาคอร์ส Yoga Teacher Training : YTT ในกรุงเทพฯ อยู่ นี่เป็นโอกาสแล้ว เพราะนอกจากสถานที่จะตั้งอยู่ใจกลางเมืองเดินทางง่ายแสนสบาย อีกสาเหตุที่คุณจะเลือกเรียนที่นี่ นั่นเพราะเราพิเศษและแตกต่าง!
1. Context : บริบท
ศาสตร์โยคะมีมายาวนานกว่าหลายพันปี แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่เราจะสามารถเข้าใจแบบแผนอันเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ในเวลาเพียง 200 ชั่วโมง ด้วยบริบทที่ว่านี้เอง หากคุณสนใจจะเป็นครูโยคะ หรือแม้แต่ต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโยคะ เราได้คัดสรรสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ เพื่อให้คุณได้เริ่มต้นบนเส้นทางสู่การเป็นครูที่ยอดเยี่ยม รวมทั้งวางโครงสร้างหลักสูตร YTT ด้วยแนวคิดนี้
การเป็นครูสอนอาสนะ คือการเข้าใจการเคลื่อนไหว ในขณะเดียวกันการเป็นโยคี คือการเข้าใจแบบแผนของโยคะ ซึ่งคอร์ส YTT ของเราเน้นส่วนที่ว่านี้เป็นหลัก นั่นคือ จะสอนการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไรให้ปลอดภัย ในขณะที่ยังคงยึดมั่นต่อแบบแผนเก่าแก่หลายพันปีนี้
2. Lineage
… ...ความสมดุลของจักระในด้านอารมณ์

จักระ หรือ ศูนย์รวมพลังงาน มีด้วยกัน 7 จุด ทั้งหมดเชื่อมต่อถึงกันตามแนวกระดูกสันหลัง โดยพลังงานจะเคลื่อนไหลผ่านจักระโดยเริ่มต้นที่ศีรษะลงไปยังฐานล่างสุด ซึ่งการเชื่อมโยงการทำงานของอวัยวะต่างๆ กับภาวะทางอารมณ์จะถูกคำนวณตามตำแหน่งอวัยวะและระบบต่างๆ แตกต่างกันไปตามแต่ละส่วนของร่างกาย
การสำรวจภาวะทางอารมณ์จากจักระด้วยเครื่อง Bio-well จะสามารถรู้ได้ว่าเรามีภาวะอารมณ์ที่สมดุลหรือไม่และเป็นอย่างไรจากกราฟที่ได้ โดยดูว่าจักระแต่ละตำแหน่ง (จุดสีต่างๆ) ที่เราได้จากจากตรวจวัดว่าไปทางซ้ายหรือทางขวาจากแกนกลางหรือแนวกระดูกสันหลังซึ่งเป็นจุดวัดความสมดุล
โดยทางฝั่งด้านซ้าย เป็นฝั่งที่สัมพันธ์กับสังคม การงาน และผู้คน (Extrovert)
ส่วนทางด้านขวา เป็นฝั่งที่สัมพันธ์กับความรู้สึกภายใน ตัวตน และครอบครัว (Introvert)
จักระทั้ง 7 และความสัมพันธ์ภาวะทางอารมณ์และระบบในร่างกาย ได้แก่
จักระที่ 1 – มูลธารา (RootChakra)
อวัยวะ : ช่องท้องเชิงกราน กระดูกสันหลัง … ...
โยคะ ในด้านการสร้างความแข็งแรง คือ Strength Training (Body Weight)

โยคะ….ไม่ใช่แค่การยืดเหยียด” (ตอนที่ 4)
โยคะ ในด้านการสร้างความแข็งแรง คือ Strength Training (Body Weight)
นอกเหนือไปจากการเสริมสร้างความยิดหยุ่นของร่างกาย ที่จริงแล้วโยคะเป็นการฝึกความแข็งแกร่ง (strength training) ของกล้ามเนื้อและกระดูกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง โยคะเป็นการออกกำลังแบบใช้น้ำหนักร่างกายของเราเอง (bodyweight exercise) นั่นคือเรากำลังแบกน้ำหนักของร่างกายเราเองขณะฝึก เมื่อฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อและกระดูกจะเพิ่มขึ้น
แม้การฝึกโยคะจะไม่ได้สร้างกล้ามเนื้อได้มากเท่ากับการฝึกยกน้ำหนัก แต่การฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อด้วยโยคะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีอาการบาดเจ็บและต้องการหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักหรือการยกน้ำหนัก รวมถึงคนที่กลัวว่าฝึกยกน้ำหนักแล้วจะทำให้กล้ามใหญ่ไม่สวย (ที่จริงแล้วการฝึกยกน้ำหนักไม่ได้ทำให้ตัวใหญ่อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน การจะสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่เพื่อให้ได้รูปร่างแบบนักเพาะกายนั้นมีปัจจัยอื่นประกอบอีกมาก เช่น อาหาร ฮอร์โมน นอกจากนี้การฝึกยกน้ำหนักยังเป็นออกกำลังแบบคาร์ดิโอก็ได้เช่นกันขึ้นกับลักษณะและรูปแบบการฝึก)
เราสามารถฝึกโยคะเพื่อเสริมความแข็งแกร่งด้วยการอยู่ค้างในอาสนะให้นานขึ้นซึ่งจะเป็นการฝึก
- ความทนทาน (endurance)
- ความอึด (stamina)
เพิ่มจำนวนครั้งของอาสนะนั้นโดยอาจเลือกเน้นกล้ามเนื้อเฉพาะบางกลุ่มแล้วทำท่าหรืออาสนะเพื่อฝึกกล้ามเนื้อนั้นซ้ำหลายครั้ง ลองใส่น้ำหนักเพิ่มขณะฝึกอาสนะ อาจจะด้วยการถือน้ำหนักขณะทำท่า warrior … ...
มาตรการการควบคุมโควิด-19 (COVID-19) ภายในบริเวณโยคะสุตราสตูดิโอ

ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และในจังหวัดอื่นใกล้เคียง ทางโยคะสุตราสตูดิโอ ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านปฏิบัติตามข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย และสุขลักษณะอนามัยภายในสตูดิโอ ดังนี้
1. สมาชิกผู้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่/หรือมีการเดินทางไปในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ขอความกรุณางดเข้าใช้บริการที่สตูดิโอเป็นเวลา 14 วัน หรือมีประวัติติดต่อ/สัมผัสกับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงหรือผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 ภายในระยะเวลา 14 วัน โดยทางสตูดิโอจะดำเนินการระงับแพ็กเกจของท่านเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ท่านสามารถติดต่อแจ้งเรื่องได้ทุกช่องทาง
2. เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของสมาชิก ครู และพนักงานทุกท่าน ขอความร่วมมือท่านสมาชิกงดเข้าใช้บริการที่สตูดิโอในกรณีดังนี้ – มีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 เช่น มีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย ฯลฯ – มีประวัติติดต่อ/สัมผัสกับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงหรือผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 ภายในระยะเวลา 14 … ...
โยคะ คือ Movement Training

“โยคะ….ไม่ใช่แค่การยืดเหยียด” (ตอนที่ 1)
โยคะ คือ Movement Training
การเคลื่อนไหวชิ้นส่วนต่างๆของร่างกายเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นการ ลุกยืน นั่ง นอน เดิน ล้วนแล้วแต่ใช้กล้ามเนื้อหลายมัดให้สัมพันธ์กัน แต่เนื่องด้วยปัจจัยทางหน้าที่การงานในปัจจุบัน ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ทำให้ส่งผลต่อระบบ Motor Control โดยตรงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ระบบประสาทสั่งการการทำงานของกล้ามเนื้อผิดเพี้ยนไป ส่งผลให้เกิดการ compensation ของกล้ามเนื้อ เป็นต้นเหตุของการบาดเจ็บ หรือปวดเมื่อยได้
Movement Training นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการพัฒนาระบบสั่งงานของประสาทให้เกิดการควบคุมการเคลื่อนไหวที่ถูกกต้อง ร่างกายมนุษย์มีการเคลื่อนไหวพื้นฐาน 7 อย่างด้วยกันซึ่งสามารถนำมาปรับเป็นการออกกำลังได้หลากหลายแบบ การเคลื่อนไหวทั้ง 7 อย่างนี้ได้แก่
- การดึง (Pull)
- การผลักหรือดัน รวมถึงการถีบ
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor) ตอนที่ 3

คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงกล้ามเนื้อเชิงกรานไม่แข็งแรงหรือไม่
คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว
คุณผู้ชายและคุณผู้หญิงที่ก้าวเข้าสูวัยทอง
ผ่านการผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน
ผ่านการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
หรือแม้แต่นักกีฬาที่ออกกำลังกายหนักๆ
ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งชื่อ “relaxin” มันจะทำให้เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายอ่อนลง และพร้อมที่จะขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่รองรับมดลูกอยู่นั้นก็ถูกขยายเช่นกัน ซึ่งบางที่การขยายนี้ก็เกิดขึ้นอย่างถาวร แม้แต่หลังคลอดบุตรไปแล้ว
คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายที่เข้าสู่วัยทอง อาจจะเริ่มสังเกตตัวเองว่าผิวหนังบนร่างกายของเรามันไม่เต่งตึงเหมือนแต่ก่อน กล้ามเนื้อที่เคยมีมันก็ซูบผอมลีบแบนไป เหตุนี้เองจึงเป็นสาเหตุที่มาของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะกล้ามเนื้อในส่วนนี้ก็เสื่อมถอยเช่นกัน
นักกีฬาที่ต้องออกกำลังกายหนัก และมีแรงกระแทกสูง เช่น นักยิมนาสติ นักวิ่ง กีฬาที่ต้องมีการกระโดด เป็นต้น แน่นอนว่าการเล่นกีฬาเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อแกนกลาง และแรงดันในช่องท้องโดยตรง ดังนั้นถ้ามีการแอคทีฟกล้ามเนื้อส่วนนี้ไม่ถูกต้อง ย่อมจะทำให้เกินความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อส่วนนี้โดยตรง
credit: Pelvic Floor First… ...
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor) ตอนที่ 2

เราได้กล่าวถึงไปแล้วว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีหน้าที่อะไรบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่ากล้ามเนื้อส่วนนี้อยู่ตรงไหน และเราจะบังคับมันได้อย่างไร เพื่อปูทางไปสู่การออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนนี้ให้แข็งแรงกันค่ะ

อย่างที่ได้บอกไปว่าหน้าที่หนึ่งของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานคือบังคับการขับถ่าย การออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนนี้จึงทำได้โดยฝึก “ขมิบ” แต่ก่อนอื่นเราต้องหาให้เจอก่อนว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอยู่ตรงไหนและมีส่วนใดบ้าง เราสามารถหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้โดยสังเกตเวลาที่เราปัสสาวะ ให้ลองกลั้นหยุดปัสสาวะขณะที่กำลังขับถ่าย กล้ามเนื้อที่ใช้หยุดนั่นเองคือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ใช้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
อีกวิธีหนึ่งในการหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานคือให้ลองจินตนาการว่าเรากลั้นหยุดปัสสาวะพร้อมกับกลั้นผายลมในขณะเดียวกัน จะทำขณะที่นั่ง นอน หรือยืนแยกขากว้างเท่าช่วงหัวไหล่ก็ได้เช่นกัน ก่อนอื่นให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าขา ก้น และท้องน้อย “ขมิบ” หรือเกร็งกล้ามเนื้อรอบทวารด้านหน้าให้รู้สึกเหมือนเราพยายามหยุดปัสสาวะ เกร็งกล้ามเนื้อรอบช่องคลอดแล้วดึงขึ้นไปหาเชิงกราน เกร็งกล้ามเนื้อรอบทวารส่วนหลังเหมือนว่าเราพยายามกลั้นผายลม เมื่อทำเช่นนี้กล้ามเนื้อบริเวณรอบทวารด้านหน้าและด้านหลังควรเกร็งขึ้นด้านบนและเข้าไปด้านในเชิงกราน จำตำแหน่งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่ทำงานขณะที่เกร็ง จากนั้นให้ผ่อนคลาย
ลองฝึกหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกันดูได้นะคะ พร้อมแล้วเราจะมาออกกำลังให้กล้ามเนื้อส่วนนี้แข็งแรงกันค่ะ
เครดิต: http://www.pelvicfloorfirst.org.au/… ...
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor) ตอนที่ 1

กล้ามเนื้อชิ้นนี้อยู่ในกระดูกเชิงกราน ด้านหน้าติดกับกระดูกหัวหน่าว แผ่ขยายโดยรอบ ด้านหลังติดกับกระดูกก้นกบ ถ้าอธิบายแบบนี้ บางท่านอาจจะยังนึกไม่ออก แต่ถ้าถามว่าเคยมั้ยที่เวลาไอหรือจามแล้วอั้นปัสสาวะไม่อยู่ นั่นแหละค่ะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของท่านกำลังทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ และในความเป็นจริงแล้วกล้ามเนื้อชุดนี้มีทั้งในผู้หญิง และผู้ชายหน้าที่อาจจะแตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่หลักๆแล้วมีหน้าที่ใกล้เคียงกัน

หน้าที่ของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงการประกอบไปด้วย 5 บทบาทได้แก่
1. รองรับอวัยวะภายใน ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะปัสสาวะ มดลูก ลำใส้ และอวัยวะต่างๆที่อยู่ภายในช่องท้อง
2. เพื่อการทรงตัวถ้าเปรียบแกนกลางลำตัวเราเหมือนบ้าน มีกระบังลมเป็นหลังคา กล้ามเนื้ออุ้งเชิงการของเราก็เปรียบเสมือนพื้นบ้านนั่นเอง
3. ควบคุมการขับถ่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้บังคับท่อปัสสาวะ และรูทวาร
4. กิจกรรมทางเพศ ช่องคลอดของคุณผู้หญิงก็เชื่อมตรงกับกล้ามเนื้อส่วนนี้เช่นกัน แถมยังเป็นปัจจัยสำคัญในออแกซั่มอีกด้วย
5. ไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเปรียบเสมือนปั้มที่จะสูบฉีดโลหิตกับสู่หัวใจ
สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น การใช้งานที่น้อยเกินไป หรืออาจจะเป็นการตั้งครรภ์และคลอดบุตร อย่างไรก็ตาม … ...